ค้นหา
โรคฮีตสโตรก (Heat Stroke) มันมากับฤดูร้อน

วันที่เวลาที่กดแป้นพิมพ์คีย์บอร์ดอยู่นี่คือ วันที่หนึ่งเมษายน เรากำลังจะเข้าสู่เทศกาลใหญ่อีกเทศกาลหนึ่งของไทยเรา และ อีกหลายๆประเทศในภูมิภาคอาเซียน คือเทศกาลสงกรานต์ และที่เข้ามาพร้อมๆกันกับเทศกาลสงกรานต์ก็คือฤดูร้อน ที่นับวันแต่จะร้อนรุนแรงขึ้น ดุเดือดขึ้นเป็นลำดับเรื่อยมาจากสภาวะโลกร้อน เมื่อกล่าวถึงเทศกาลสงกรานต์อีกเรื่องหนึ่งที่พ่วงมากับเทศกาลสงกรานต์ก็คือ วันผู้สูงอายุแห่งชาติ ในสมัยรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ได้อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวัน เป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ ให้เราได้กลับบ้านไปรดน้ำดำหัวท่านผู้สูงอายุ อันเป็นที่เคารพรัก ให้ท่านได้ชื่นใจเห็นหน้าลูกหลาน ได้เจอน้ำอบเย็นๆพอจะได้คลายร้อนลงไปได้บ้าง เพราะผู้สูงอายุกับความร้อน เมื่อมาเจอกันก็มักจะเกิดโรคลมแดด หรือโรคฮีตสโตรก (Heat Stroke) อันเป็นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถลดอุณหภูมิกายลงได้ และเป็นผลให้เกิดมีภยันตรายต่อระบบอวัยวะน้อยใหญ่ได้อย่างกว้างขวาง เป็นภาวะที่ต้องได้รับการบำบัดอย่างทันท่วงทีเนื่องจากอาจทำให้เสียชีวิตได้สูงมาก บุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น นักกีฬาที่แข่งกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน

แม้ว่าโรคนี้ โดยทั่วไปพบได้ไม่บ่อย จะพบถี่ขึ้นในช่วงเวลาที่เข้าสู่ฤดูร้อน การป้องกันโรคลมแดดนั้น ผู้สูงอายุควรหลีกเลี่ยงอยู่ในที่มีความร้อนสูงต่อเนื่องเป็นเวลานาน ให้สวมเสื้อผ้าที่มีน้ำหนักเบา สีโทนอ่อนๆ เนื้อผ้าไม่หนา ระบายความร้อนได้ดี ให้จิบน้ำเปล่าทีละน้อยแต่บ่อยๆ รวมแล้วให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน หรือวันละประมาณ 1,500 ซีซี ประการสำคัญในสภาวะอากาศ ร้อนผู้สูงอายุไม่ควรปล่อยให้ตนเองรู้สึกกระหายน้ำเป็นเวลานานเป็นอันขาด จะต้องดื่มน้ำเพิ่มเติมทันที เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการร่างกาย กรณีที่อยู่ในระหว่างการเดินทางขอให้พกน้ำสะอาดติดตัวไปด้วยเพื่อใช้จิบระหว่างทาง สำหรับเครื่องดื่มคลายร้อนที่ผู้สูงอายุไม่ควรดื่มในช่วงอากาศร้อนเนื่องจาก จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภาวะขาดน้ำได้ มี 4 ชนิด ได้แก่ น้ำอัดลม เครื่องดื่มชู กำลัง เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ โดยสาร คาเฟอีนและแอลกอฮอล์จะ ไปกระตุ้นให้ไตขับน้ำออก จากร่างกายมากกว่าน้ำที่ดื่ม เข้าไปทำให้ปัสสาวะบ่อย และสูญเสียน้ำในร่างกายจะ ยิ่งขาดน้ำรุนแรงขึ้นไปอีก ผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงเป็น โรคลมแดด ได้แก่ ผู้ที่มีโรค เรื้อรังประจำตัว เช่น โรค ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน เป็นต้น สัญญาณ อาการเฉพาะที่สังเกตได้ ง่าย คือ อุณหภูมิร่างกายสูง ขึ้น ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ แต่ ไม่มีเหงื่อออก รู้สึกกระหาย น้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน อาการจะแตกต่าง จากอาการเพลียแดดทั่วไป ซึ่งมักจะมีเหงื่อออกด้วย

หากพบผู้สูงอายุเป็นโรคลมแดดการช่วยเหลือเบื้องต้นขอให้ นำตัวเข้าไปในที่ร่มที่อากาศ ถ่ายเทได้ดี คลายเสื้อ ผ้าให้ หลวม เป้าหมายของการรักษาในเบื้องต้นคือ การลดอุณหภูมิ การทำให้เย็นโดยอาศัยการระเหยของน้ำทำได้ด้วยการถอดเสื้อผ้าของผู้ป่วยออกให้หมด แล้วเช็ดตัวผู้ป่วยให้ทั่วด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ หรือใช้กระบอกพ่นละอองน้ำพรมให้ทั่วตัวผู้ป่วย ซึ่งอาจใช้ กระบอกพลาสติกเช่นเดียวกับการพรมน้ำเสื้อผ้าเพื่อเตรียมรีด ตั้งพัดลมให้เป่าที่ตัวผู้ป่วยโดยตรงตลอดเวลา อย่าปกคลุมตัวผู้ป่วยด้วยผ้าแล้วทำให้เปียก เนื่องจากจะขัดขวางการระเหยของน้ำจากผิวหนัง นอกจากนี้ควรวางห่อน้ำแข็งไว้ ณ บริเวณซอกง่ามขาและรักแร้ด้วย แล้วช่วยบีบนวด กระตุ้น การไหลเวียนเลือดกลับเข้า สู่หัวใจ หาก เป็นไปได้ให้ใช้ปรอทวัดไข้ วัดอุณหภูมิร่างกายเป็นพักๆ หากอุณหภูมิลดลงถึง 38-39 องศาเซลเซียส ให้ค่อยๆ ชะลอการเช็ดตัวด้วยน้ำเย็น หากผู้ป่วยมีสติแล้วให้ดื่มน้ำ ธรรมดาหรือน้ำเย็นเป็นระ ยะๆถ้าหากยังไม่ดีขึ้นต้องรีบ นำตัวส่งแพทย์.